ศัพท์พื้นฐาน Forex แบบง่ายๆ

Accrual - การจัดสรรค่าพรีเมี่ยมและค่าส่วนลดสำหรับธุรกรรมเงินตราต่างประเทศล่วง หน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับค่า swap (การ Arbitrage ของดอกเบี้ย) ในระยะเวลาของธุรกรรมนั้นๆ
Adjustment - การดำเนินการอย่างเป็นทางการโดยวิธีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินเพื่อลดความไม่สมดุลในการใช้จ่าย หรือวิธีการลดค่าเงิน
Appreciation - การแข็งค่าของสกุลเงินนั้นๆเมื่อมีอุปสงค์มากขึ้น
Arbitrage - การซื้อและขายในตลาดที่มีความสัมพันธ์กันเป็นจำนวนที่เท่ากันพร้อมๆกันเพื่อได้รับส่วนต่างระหว่างราคาในแต่ละตลาด
Ask (Offer) Price - เป็นราคาที่ตลาดต้องการขายในสกุลเงินนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาของคู่ USD/CHF เป็น 1.4527/32 ราคา Ask คือ 1.4532 หมายความว่าท่านต้องใช้เงิน 1.4532 Swiss francs เพื่อที่จะซื้อ 1 US dollar
At Best - เป็นคำแนะนำจาก Dealer ในการซื้อหรือขายในเรทที่ดีที่สุดที่จะสามารถทำได้
At or Better - เป็นการสั่งให้ซื้อหรือขายในราคาที่ต้องการหรือราคาที่ดีกว่านี้

Balance of Trade - จำนวนส่งออกลบด้วยจำนวนนำเข้าของประเทศนั้นๆ
Bar Chart - ประเภทของกราฟซึ่งแสดง 4 ส่วนหลักคือ ราคาต่ำสุดและราคาสูงสุด แสดงด้วยเส้นแนวตั้ง และราคาเปิดและราคาปิดแสดงด้วยเส้นแนวนอนเส้นเล็กๆด้านซ้ายและขวา
Bear Market - เป็นช่วงตลาดขาลง มีการอ่อนค่าของราคา
Bid Price - เป็นราคาที่ตลาดต้องการซื้อในสกุลเงินนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาของคู่ USD/CHF เป็น 1.4527/32 ราคา Ask คือ 1.4527 หมายความว่าเมื่อท่านขายเงิน 1 US dollar ท่านจะได้รับ 1.4527 Swiss francs
Bid/Ask Spread - ส่วนต่างระหว่างราคา bid และราคา ask
Big Figure - ทศนิยม 2 หรือ 3 หลักแรกของราคา ตัวอย่างเช่น ถ้าราคา bid/ask ของคู่ USD/JPY bid/ask เป็น 115.27/32 ดังนั้น big figure คือ 115 ถ้าราคาของคู่ EUR/USD เป็น 1.2855/58 big figure คือ 1.28 ซึ่ง big figure ส่วนใหญ่จะไม่ได้ถูกแสดงในราคาที่ dealer เสนอมา เช่น ถ้าราคาของคู่ EUR/USD เป็น 1.2855/58 ทาง dealer จะเขียนสั้นๆว่า "55/58".
Book - เป็นประวัติสรุปออเดอร์ที่เคยทำรายการมากทั้งหมด
Bretton Woods Agreement of 1944 - เป็นข้อตกลงเพื่อที่จะทำให้ค่าของสกุลเงินหลักๆคงที่ เพื่อให้ธนาคารกลางสามารถแทรกแซงตลาดสกุลเงินได้ และกำหนดให้ราคาของทองคำเท่ากับ $35 ต่อออนซ์ ข้อตกลงนี้ใช้ถึงปี 1971 เมื่อประธานาธิบดี Nixon ได้ยกเลิกและเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินแบบลอยตัวแทน
Broker - เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่เสมือนคนกลางระหว่างคนซื้อและคนขายเพื่อเก็บค่าธรรมเนียม
Bull Market - เป็นช่วงตลาดขาขึ้น มีการแข็งค่าของราคาA market distinguished by rising prices.
Bundesbank - ธนาคารกลางของประเทศเยอรมัน


Cable - เป็นชื่อเรียกของคู่สกุลเงิน GBP/USD ซึ่งเริ่มจากเมื่อช่วงกลางทศวรรษที่ 1800 มีการส่งราคาผ่านทาง cable
Candlestick Chart - เป็นประเภทของกราฟที่แสดงราคาเปิด ปิด และสูงสุด ต่ำสุดของช่วงเวลานั้นๆ ถ้าราคาเปิดสูงกว่าราคาปิด ช่องสี่เหลี่ยมระหว่างราคาเปิดและราคาปิดจะมีการแรเงาไว้ ถ้าราคาปิดสูงกว่าก็จะไม่มีการแรเงา
Cash Market - เป็นตลาดซื้อขาย future หรือ options
Central Bank - เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ควบคุมนโยบายทางการเงินของประเทศ ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางของประเทศอเมริกาคือ Federal Reserve และธนาคารกลางของประเทศเยอรมันคือ Bundesbank
Chartist - เป็นนักลงทุนที่วิเคราะห์แนวโน้มราคาจากกราฟเป็นหลัก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านักลงทุนทางเทคนิค
Cleared Funds - เงินที่สามารถใช้ในการเปิดการซื้อขายได้
Clearing - กระบวนการในการดำเนินการซื้อขาย
Closed Position - คือรายการซื้อขายที่ปิดไปแล้ว ซึ่งในการปิดการซื้อขาย นักลงทุนก็จะต้องทำการซื้อหรือขายตรงข้ามกับรายการที่ได้ทำไว้แล้ว
Collateral - หลักทรัพย์ประกัน
Commission - ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากโบรกเกอร์
Confirmation - เอกสารที่ยืนยันเงื่อนไขข้อตกลงในการซื้อขาย
Contagion - แนวโน้มของวิกฤตเศรษฐกิจที่จะแพร่กระจายไปยังตลาดอื่นๆ ซึ่งในปี 1997 ความไม่มั่นคงทางการเมืองของประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดความไม่แน่นอนในสกุล เงิน Rupiah ซึ่งมีผลกระทบต่อไปยังหลายประเทศในทวีปเอเชีย และต่อมาที่ทวีปละตินอเมริกา ซึ่งเรียกเหตุการณ์นี้ว่า 'Asian Contagion'.
Contract - หน่วยมาตรฐานของการซื้อขาย
Counter Currency - สกุลเงินที่เขียนเป็นลำดับที่สองในคู่สกุลเงิน
Counterparty - หนึ่งในผู้ที่มีส่วนร่วมในการซื้อขายรายการทางการเงิน
Country Risk - ความเสี่ยงในการทำธุรกรรมข้ามประเทศซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือเงื่อนไขทางการเมือง
Cross Currency Pairs - คู่สกุลเงินที่ไม่มี US dollar เช่น EUR/JPY หรือ GBP/CHF.
Currency - เงินที่ออกโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางซึ่งใช้ในการซื้อขาย
Currency Pair - คู่สกุลเงินที่ประกอบไปด้วย 2 สกุลเงิน ตัวอย่างเช่น EUR/USD
Currency Risk - ความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงเรทของค่าเงินอย่างผันผวน


Day Trader - นักลงทุนที่ทำการเปิดและปิดการซื้อขายภายในวันเดียว
Dealer - เป็นบุคคลหรือบริษัทที่ทำการเปิดการซื้อขายกับอีกตลาดหนึ่งเพื่อที่จะได้รับกำไรจากค่า spread
Deficit - การขาดทุน
Delivery - การทำการซื้อขายโดยได้รับสินค้ามาจริงๆ
Depreciation - การลดค่าของสกุลเงิน
Derivative - สัญญาซื้อขายจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ ฟิวเจอร์ หรือสินค้าอื่นๆ ซึ่งออฟชั่นก็เป็น derivative ที่นิยมซื้อขายกันมากที่สุด
Devaluation - การลดค่าเงินซึ่งประกาศโดยรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่


EURO - สกุลเงินยูโร European Monetary Union (EMU) ซึ่งมาแทนที่ European Currency Unit (ECU)
Economic Indicator - สถิติที่ประกาศจากรัฐบาลเกี่ยวกับการเติบโตและความมีเสถียรภาพทางด้าน เศรษฐกิจ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยอัตราการจ้างงาน, Gross Domestic Product (GDP), เงินเฟ้อ, ยอดค้าปลีก และอื่นๆ
End Of Day Order (EOD) - รายการซื้อหรือขายตามราคาที่กำหนดไว้ รายการซื้อขายนี้จะเปิดไว้จนกระทั่งสิ้นสุดวันนั้นๆ โดยทั่วไปจะเป็นเวลา 5PM ET
European Central Bank (ECB) - ธนาคารกลางของสหภาพยุโรป
European Monetary Union (EMU) - จุดประสงค์ของ EMU คือการก่อตั้งสกุลเงินยูโรเพื่อใช้แทนสกุลเงินของประเทศต่างๆในทวีปยุโรปใน ปี 2002 ในวันที่ 1 มกราคา 1999 ได้เริ่มมีการทดลองใช้เงินสกุลยูโรเป็นเวลา 3 ปี และในวันที่ 1 กรกฏาคม 2002 ก็ได้มีการใช้อย่างเต็มรูปแบบ สมาชิกของ EMU ประกอบไปด้วย เยอรมัน, ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, ลักเซมเบอร์ก, ออสเตรีย, ฟินแลนด์, ไอร์แลนด์, เนเธอแลนด์, อิตาลี, สเปนและโปรตุเกส


FX - การซื้อขายสกุลเงิน (Foreign Exchange)
Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) - หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการคุ้มครองการฝากเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา
Federal Reserve (Fed) - ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา
First In First Out (FIFO) - กฎที่รายการซื้อขายที่เปิดก่อนจะถูกปิดก่อนในกรณีที่มาร์จินไม่พอ
Flat/square - เป็นรายการซื้อขายที่หักล้างกัน เช่น ท่านทำรายการซื้อ $500,000 และอีกรายการนึงขาย $500,000
Foreign Exchange (Forex, FX) - การซื้อขายสกุลเงิน โดยการซื้อหนึ่งสกุลเงินและขายอีกสกุลเงินหนึ่งเป็นคู่
Forward - สัญญาการซื้อขายล่วงหน้าในราคาและวันเวลาที่ได้ตกลงไว้
Forward Points - จำนวน pip ที่เพิ่มหรือหักออกจากราคาปัจจุบันเพื่อที่จะคำนวณราคาล่วงหน้า
Fundamental Analysis - การวิเคราะห์แนวโน้มราคาล่วงหน้าโดยการศึกษาสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองเป็นหลัก
Futures Contract - สัญญาแลกเปลี่ยนในการซื้อขายที่ราคาและวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ ข้อแตกต่างระหว่าง Future และ Forward คือ Future โดยปกติจะเป็น Exchange-Traded Contacts (ETC) ส่วน Forward นั้นจะเป็น Over The Counter (OTC)


G7 - ประเทศผู้นำในด้านอุตสาหกรรม ประกอบไปด้วย สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อังกฤษ แคนาดา อิตาลี
Going Long - การซื้อสินค้า เช่น หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ หรือสกุลเงิน
Going Short - การขายสินค้าโดยที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้าเอง
Good Til Cancelled Order (GTC) - การซื้อขายสินค้าในราคาที่กำหนดไว้ รายการจะยกเลิกเมื่อมีคำสั่งจากลูกค้าเท่านั้น.
Gross Domestic Product - ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
Gross National Product - ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ คือ Gross domestic product บวกด้วยรายได้จากการลงทุนหรือการทำงานต่างประเทศ


Hedge - การเปิดรายการซื้อขายตรงข้ามกับรายการที่มีอยู่เพื่อลดความเสี่ยงลง
Hit the bid - การยอมรับการขายที่ราคา bid


Inflation - สภาพเศรษฐกิจที่ราคาของสินค้าได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้อำนาจการซื้อของประชาชนลดลง
none Margin - เงินประกันเริ่มต้นที่ต้องใช้ในการเปิดการซื้อขาย
Interbank Rates - อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างธนาคารต่างประเทศ
Intervention - การแทรกแซงค่าเงินของธนาคารกลางเพื่อควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน


Kiwi - คำแสดงของสกุลเงินดอลลาร์ประเทศนิวซีแลนด์

LIBOR - ย่อมาจาก London Inter-Bank Offered Rate ซึ่งธนาคารต่างๆจะใช้เรท LIBOR เมื่อทำการยืมเงินจากธนาคารอื่น
Leading Indicators - ค่าสถิติที่ใช้คาดการณ์สภาวะทางเศรษฐกิจล่วงหน้า
Leverage - เป็นอัตราส่วนเพื่อที่จะใช้คำนวณมาร์จินในการซื้อขาย
Limit order - เป็นรายการซื้อขายที่ตั้งราคาไว้ล่วงหน้าว่าจะทำการซื้อขายที่ราคาเท่าไหร่ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในตลาดที่มีราคาขึ้นลงอย่างรวดเร็ว
Liquidation - การปิดรายการซื้อขายที่มีอยู่โดยใช้วิธี offsetting transaction
Liquidity - ความสามารถในการรับการซื้อขายปริมาณมากๆโดยที่มีผลกระทบต่อราคาน้อยที่สุด
Long position - รายการซื้อ รายการนี้จะได้กำไรเมื่อสินค้าที่เราทำรายการมีราคาสูงขึ้น
Lot - หน่วยของสัญญาที่ใช้ในการเทรด


Margin - จำนวนเงินประกันที่ใช้ในการเปิดออเดอร์
Margin Call - การแจ้งเตือนจากโบรกเกอร์หรือดีลเลอร์เพื่อแจ้งว่ามาร์จินเหลือน้อยแล้ว
Mark-to-Market - การคำนวณกำไรขาดทุนของรายการซื้อขายโดยให้สะท้อนกับราคาตลาดในปัจจุบัน
Market Maker - ดีลเลอร์ที่ส่งราคา bid และ ask และพร้อมที่จะทำรายการซื้อขายในสินค้าต่างๆ
Market Risk - ความเสี่ยงจากการขึ้นลงของตลาด
Maturity - วันที่หมดสัญญาการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน


Net Position - จำนวนรายการซื้อขายทั้งหมดโดยไม่มีการหักล้างรายการที่เปิดตรงข้ามกัน

Offer (ask) - ราคาที่ดีลเลอร์ต้องการขาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่คำศัพท์ Ask (offer) price
Offsetting transaction - การซื้อขายที่เปิดตรงกันข้ามกับรายการที่มีอยู่เพื่อลดความเสี่ยง
One Cancels the Other Order (OCO) - เป็นการประมวลผลของ 2 ออเดอร์ ถ้าออเดอร์ใดออเดอร์หนึ่งได้เปิดการซื้อขายแล้ว อีกออเดอร์หนึ่งจะถูกยกเลิกอัตโนมัติ
Open order - ออเดอร์ที่ได้รับการประมวลผลเมื่อราคาได้มาถึงราคาที่มีการตั้งซื้อขายไว้ ซึ่งปกติก็จะเชื่อมโยงกับ Good 'til Cancelled Orders.
Open position - เป็นรายการซื้อขายที่กำลังอยู่ในตลาด ยังไม่มีการคิดกำไรขาดทุนจนกว่าจะปิดรายการ
Order - การสั่งการซื้อขายตามที่ได้ตั้งราคาไว้
Over the Counter (OTC) - เป็นการอธิบายถึงรายการซื้อขายที่เกิดขึ้นนอกตลาด
Overnight Position - การซื้อขายที่เปิดข้ามวัน


Pips - หน่วยทีเล็กที่สุดของราคาของคู่สกุลเงิน ตัวอย่างเช่น คู่สกุลเงิน EURUSD 1 pip จะเท่ากับ 0.0001 ซึ่งอาจจะเรียกว่า Point ก็ได้
Political Risk - การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลที่จะมีผลอย่างมากต่อรายการซื้อขายของนักลงทุน
Position - รายการซื้อขายสุทธิของสกุลเงินนั้นๆ
Premium - จำนวนที่ราคาของ forward หรือ future เกินไปจากราคา spot
Price Transparency - การแสดงราคาให้กับนักลงทุนทุกคนเพื่อความเท่าเทียมกันในการซื้อขาย
Profit /Loss or "P/L" or Gain/Loss - ยอดกำไรหรือขาดทุนจากรายการซื้อขายทั้งหมด (รายการที่ได้ทำการปิดเรียบร้อยแล้วบวกหรือลบด้วยยอดกำไรขาดทุนของรายการที่ ยังเปิดค้างอยู่)


Quote - ราคาตลาดที่แสดงเพื่อทำการซื้อขาย

Rally - การเพิ่มขึ้นของราคาหลังจากราคาได้ตกลงมาเป็นเวลาช่วงหนึ่ง
Range - ส่วนต่างระหว่างราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดในช่วงเวลาหนึ่งๆ
Rate - อัตราส่วนของราคาในสกุลเงินหนึ่งเมื่อเทียบกับสกุลเงินหนึ่ง
Resistance - เป็นคำที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์ว่าคนส่วนใหญ่จะทำการขายที่ราคานี้
Revaluation - การเพิ่มขึ้นของค่าเงินอันเนื่องมาจากการแทรกแซงของธนาคารกลาง ตรงข้ามกับ Devaluation.
Risk - ความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ไม่แน่นอน
Risk Management - การวิเคราะห์และใช้เทคนิคการเทรดในการลดความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น
Roll-Over - กระบวนการในการซื้อขายที่มีการทิ้งไว้ข้ามวัน ซึ่งกระบวนการนี้ก็จะมีค่าใช้จ่าย(หรือรายได้)จากส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่าง 2 สกุลเงิน
Round trip - การซื้อและขายในสกุลเงินหนึ่งๆ


Settlement - กระบวนการที่รายการซื้อขายได้ถูกบันทึกไว้ ซึ่งการซื้อขายนี้อาจจะไม่ได้เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันจริงๆก็ได้
Short Position - เป็นรายการซื้อขายที่จะได้กำไรเมื่อราคาของสินค้านั้นๆตกลงมา
Spot Price - ราคาตลาดปัจจุบัน
Spread - ส่วนต่างของราคา bid และ offer
Square - การที่มีรายการซื้อและรายการขายที่หักล้างกันทั้งหมด
Sterling - คำสแลงของสกุลเงินปอนด์
Stop Loss Order - เป็นออเดอร์ที่มีการตั้งจุดขาดทุนไว้เพื่อที่จะจำกัดความเสี่ยงในกรณีที่ ราคาไม่เป็นไปตามที่นักลงทุนวิเคราะห์ไว้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเปิดออเดอร์ซื้อที่ราคา 156.27 นักลงทุนก็อาจจะตั้ง stop loss ไว้ที่ 155.49 เมื่อราคาตลาดมาถึงราคานี้ออเดอร์ก็จะปิดให้อัตโนมัติ
Support Levels - เป็นแนวรับที่ตรงข้ามกับแนวต้าน (Resistance) แนวรับนี้จะเป็นแนวที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะทำการซื้อ
Swap - ดอกเบี้ย swap เป็นดอกเบี้ยที่เราจะได้หรือเสียไปเมื่อเราทำการเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ข้ามคืน
Swissy - เป็นคำศัพท์สแลงจากสกุลเงินฟรังก์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์


Technical Analysis - การวิเคราะห์แนวโน้มโดยใช้ข้อมูลตลาดย้อนหลัง เช่น ราคา, ปริมาณซื้อขาย, ดอกเบี้ย และอื่นๆ
Tick - การเปลี่ยนแปลงของราคาขึ้นลงในแต่ละครั้ง
Tomorrow Next (Tom/Next) - การปิดการซื้อขายสกุลเงินในวันปัจจุบันและกลับมาเปิดรายการอีกในวันถัดไป เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับเงินจริงๆจากการซื้อขายนี้
Transaction Cost - ต้นทุนในการทำรายการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน
Transaction Date - วันที่ทำรายการซื้อขาย
Turnover - จำนวนเงินทั้งหมดที่ทำรายการซื้อขายไปในช่วงเวลาหนึ่งๆ
Two-Way Price - การแสดงราคา bid และ offer


US Prime Rate - อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารของสหรัฐอเมริกาให้ลูกค้าองค์กรกู้ยืม
Unrealized Gain/Loss - ยอดกำไรขาดทุนสำหรับรายการซื้อขายที่ยังไม่ได้ปิดในขณะนั้น ถ้ารายการซื้อขายนั้นปิดแล้วก็จะเป็นกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริง
Uptick - ราคาตลาดใหม่ที่แสดงขึ้นมาสูงกว่าราคาก่อนหน้านี้
Uptick Rule - ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีเงื่อนไขว่าจะไม่สามารถเปิดรายการขายได้ถ้ารายการ ซื้อขายล่าสุดมีราคาไม่ต่ำกว่าราคาที่นักลงทุนกำลังจะขายต่อไป


Value Date - วันที่ตกลงทำสัญญาซื้อขาย ตัวอย่างเช่น ในตลาด spot value date คืออีก 2 วันถัดไป หรืออาจจะเรียกว่า maturity date ก็ได้
Variation Margin - เงินประกันที่ทางโบรกเกอร์ให้สำรองไว้เมื่อทำการซื้อขาย
Volatility (Vol) - การวัดสถิติความเคลื่อนไหวของราคาในเวลาหนึ่งๆ


Whipsaw - เป็นรูปแบบราคาที่ขึ้นไปอย่างรวดเร็วและหลังจากนั้นก็ตกลงมาเร็วเช่นกัน

Yard - คำสแลงของพันล้าน

---------------------------------------------

รวมคำศัพท์ FOREX และคำถาม-คำตอบที่พบบ่อย
คำถาม: เล่น Forex แล้วได้เงินจริงหรือเปล่า ?

ตอบ: ได้จริงและเสียจริงครับ อยู่ที่ว่าคุณทำได้หรือเปล่า มันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คุณต้องขยันศึกษาหาความรู้ หาเทคนิคในการทำกำไร มีหลายคนทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ ทำเป็นอาชีพหลักได้เลย อยู่ที่การฝึกฝนครับ เหมือนเป็นอาชีพหนึ่งถ้าคุณตั้งใจ การเล่น Forex จะคล้ายๆ การเล่นหุ้น แต่เป็นการซื้อขายค่าเงินระหว่างคู่เงินแทน เป็นการเก็งกำไรจากค่าเงิน ตลาดเงินจะคล่องตัวกว่าตลาดหุ้นมาก ใน Eglobal-Forex จะมีเงินปลอมให้ทดลองเทรด ควรศึก ษาให้เข้าใจก่อน แล้วจึงเล่นด้วยเงินจริงครับ ขยันศึกษา+ฝึกฝน+มีระเบียบวินัย+การบริหารความเสี่ยง จะทำให้ประสบความสำเร็จใน Forex ได้ครับ

คำถาม: Pips หรือ Points คืออะไร?

คำตอบ: Pip (Price Interest Point) หรือ Point (จุด) คือ ค่าต่ำสุดของราคา ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งก็คือจุดทศนิยมหลักสุดท้ายของราคานั่นเอง เช่น EUR/USD ราคาอยู่ที่ 1.3630 เมื่อราคาขึ้นไปเป็น 1.3631 หรือ USD/JPY ราคาอยู่ที่ 115.70 ขึ้นไปเป็น 115.71 ก็คือขึ้นไป 1 Pip หรือ 1 point

คำถาม: Margin คืออะไร?

คำตอบ: คือวงเงินของเรา จะมี Available Margin= วงเงินคงเหลือที่ใช้ซื้อขายได้, Used Margin= วงเงินที่เราใช้ไป
สูตร -> Available Margin = เงินในบัญชี - Used Margin + Profit
เมื่อ เริ่มต้นเรามีเงินฟรี $5 ยังไม่ได้เทรด Used Margin เป็น 0 เราก็จะมี Available Margin=5.0 ถ้าเราทำการเทรดซื้อ EUR/USD ไป $1 จะเกิด Used Margin=1.0 และเหลือ Available Margin เกือบ 4.0 (เนื่องจากถูกหักค่า Spread 2 pips เป็นค่าติดลบใน Profit) ถ้าราคาขึ้นไปจนเราได้กำไร +10 point เราจะได้ Profit=0.1 ค่า Available Margin จะเพิ่มเป็น 4.1 point ถ้าราคา + ขึ้นไปเรื่อยๆ เราจะได้ Available Margin เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ในทางกลับกัน ถ้าเราขาดทุน ค่า Profit จะติด - และ Available Margin เราจะลดลงแทน หากเราไม่ตัดขาดทุนจะลดลงไปเรื่อยๆ จน Margin เกือบหมดเราจะถูกปิดโดยอัตโนมัติ เรียกว่า Margin Call โดนไปทีแทบไม่เหลืออะไรเลย จึงควรรักษา Margin ไว้ให้ดี มีชัยไปกว่าครึ่งครับ ^^

คำถาม: Long และ Short คืออะไร?

คำ ตอบ: Long คือ ซื้อไว้แล้วขาย หลักคือเราต้องซื้อไว้ที่ราคาถูกแล้วไปขายที่ราคาแพงกว่า เราก็จะได้กำไรจากส่วนต่าง ตอนเราเปิด Long ก็คือ ส่งคำสั่งซื้อ หรือ Send Buy Order ไปที่ Marketiva และจะเกิด Long Position ขึ้น
Short คือ ขายออกแล้วซื้อกลับ หลักคือเราขายออกไปก่อนที่ราคาสูง แล้วไปซื้อกลับคืนเมื่อราคาต่ำกว่า เราก็จะได้กำไรที่ส่วนต่าง ตอนเราเปิด Short ก็คือ ส่งคำสั่งขาย หรือ Send Sell Order ไปที่ Marketiva และจะเกิด Short Position ขึ้น
ตลาด Forex จะต่างจากตลาดหุ้น คือสามารถเทรดได้ทั้งสองทาง ทั้งซื้อและขาย เล่นได้ทั้ง ขาขึ้น และขาลง ตลาดหุ้นซื้อได้อย่างเดียว เล่นได้แต่ขาขึ้น ถ้าเป็นขาลงต้องนอนรออย่างเดียว

คำถาม: Stop-Loss (SL) คืออะไร?

คำตอบ: Stop Loss ปกติจะเห็นในห้องแชทพิมพ์ว่า SL (sl) คือจุดที่เรายอมขาดทุน ตรงข้ามกับ TP
- Buy (Long) Order ค่า Stop Loss จะตั้งไว้ต่ำกว่าราคาที่เราซื้อ ถ้าราคาลดลงไปถึงจุดที่กำหนด จะถูกปิดออเดอร์ทันที เพื่อตัดขาดทุน เช่น เราซื้อ EUR/USD ที่ราคา 1.3630 เรายอมขาดทุนได้ 30 จุด ก็ตั้ง SL ไว้ที่ 1.3600 ถ้าราคาไม่ขึ้นตามที่เราตั้งใจแต่กลับลดลงมาถึง 1.3600 เราก็จะขาดทุนเพียง 30 จุด ถ้าเราไม่ตัดขาดทุน ราคาอาจจะลดลงไปมากกว่านี้เยอะ
- Sell (Short) Order จะตั้ง Stop Loss ไว้สูงกว่าราคาที่เราเปิด Sell ถ้าราคาขึ้นไปถึงจุดนั้น จะถูกปิดโดยอัตโนมัติ

คำถาม: Target (Take Profit/TP) คืออะไร?

คำตอบ: Target หรือ TP (Take Profit) คือเป้าหมายกำไรที่เราต้องการ ตรงข้ามกับ SL
- Buy (Long) Order เราจะได้กำไรเมื่อราคาปรับขึ้น เราอาจใช้แนวต้าน เป็นเป้าหมายทำกำไร เมื่อราคาขึ้นไปถึงจุดนั้น จะถูกขายออกโดยอัตโนมัติ
- Sell (Short) Order เราจะได้กำไรเมื่อราคาปรับลดลง เราอาจใช้แนวรับเป็นเป้าหมาย เมื่อราคาลงไปถึงจุดนั้น จะถูกปิดออเดอร์ โดยอัตโนมัติ

คำถาม: การตั้งซื้อขายแบบ Limit / Stop คืออะไร?

คำตอบ: เป็นการตั้งซื้อขายไว้ล่วงหน้า หรือ Pending Order จะยังไม่มี Position เกิดขึ้น
Limit Order ใช้ตั้ง ซื้อที่ราคาต่ำกว่าราคาปัจจุบัน หรือ ตั้งขายที่ราคาสูงกว่าราคาปัจจุบัน ตัวอย่างถ้าตอนนี้ EUR/USD ราคาอยู่ที่ 1.2953/55 ถ้าเราคิดว่ามันเป็นเทรนขาขึ้น และราคาแพงเกินไป เราอยากซื้อราคาต่ำกว่านี้แต่ไม่ว่างนั่งดู เราอาจตั้ง Buy Limit Order ไว้ที่ราคา 1.2945 ถ้าราคาลดลงมาถึงจุดก็จะถูกซื้อโดยอัตโนมัติ และเมื่อราคาขึ้นไปตามคาด เราก็จะได้กำไรเพิ่มขึ้นถึง 10 จุด สำหรับ Sell Limit ก็กลับกัน
Stop Order คือ ตั้งซื้อที่ราคาสูงกว่าราคาปัจจุบัน หรือ ตั้งขายที่ราคาต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ใช้เมื่อเราไม่ว่างนั่งเฝ้าอยู่ที่หน้าจอเทรด และใช้สำหรับจับเทรน ตัวอย่าง EUR/USD ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 1.2953/55 เราคิดว่าถ้าราคาผ่านแนวต้านที่ 1.2963/65 ขึ้นไป (Breakout) แล้วน่าจะขึ้นไปต่อ เราอาจตั้ง Buy Stop Order ไว้ที่ 1.2970 เมื่อราคาทะลุขึ้นไปก็จะซื้อให้อัตโนมัติ สำหรับ Sell Stop ก็กลับกันครับ ถ้าคิดว่าจะหลุดแนวรับเราก็ตั้ง Sell Stop Order ไว้ใต้แนวรับ

คำถาม: เวลาเปิดให้เทรดได้เวลาไหน และปิดเวลาใด?

คำตอบ: ตลาดเปิดให้เทรดเวลา 4.00 เช้าวันจันทร์ ไปจนถึงปิดเวลา 4.00 น. เช้าวันเสาร์ สามารถเทรดได้ตลอด 24 ชั่วโมง

คำถาม: เปิดซื้อขายทิ้งไว้ แล้วออกโปรแกรมไป หรือไฟดับ จะเป็นอะไรไหม?

คำตอบ: ไม่เป็นไรครับ ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ทางโบรกเกอร์ เมื่อเรากลับเข้ามาอีกที อาจจะ + เป็น 100 หรือ - เป็น 100 ก็ได้ตามราคาตลาดในตอนนั้น หรือแม้แต่เปิดทิ้งไว้จนถึงปิดตลาดเช้าวันเสาร์ พอวันจันทร์ตลาดเปิด ก็ยัง + - ไปตามราคาตลาดต่อไป จนกว่าเราจะสั่งปิดเอง หรือ ราคาชน Target หรือ ราคาชน Stop-Loss หรือ ถูก Margin Call เพราะ margin หมด

คำถาม: Spread (2/3 pips) คืออะไร?

คำตอบ: ที่เห็น 2 pips หรือ 3 pips for EUR/USD เป็นผลต่างระหว่าง ราคาซื้อ (Bid) กับราคาขาย (Offer) ครับ ตอนที่เราซื้อเราจะซื้อที่ราคาขาย (Offer บางโบรกเกอร์ เรียกว่า Ask) พอจะขายก็ต้องขายที่ราคาซื้อ (Bid) นะครับ ยกตัวอย่าง ร้านทองก็มี ราคาซื้อ-ราคาขาย ติดไว้ที่หน้าร้าน เวลาคุณจะไปซื้อทอง ก็ต้องซื้อที่ราคาขาย (Offer) พอจะขายคืนก็ต้องขายให้ที่ราคาที่เค้ารับซื้อ (ฺBid) ถ้าซื้อแล้วขายเลยก็ขาดทุนแน่ๆ ครับ เพราะราคารับซื้อเค้าจะต่ำกว่าราคาขาย ใน Forex ก็คล้ายๆกัน จะเห็นว่าพอเราเปิดซื้อขายมาออเดอร์นึง จะลบทันที 2 จุด (pips) สำหรับ EUR/USD ใน Marketiva เหมือนเป็นค่าต๋งนะแหละครับ ยังไงเปิดมาก็ต้องลบ EUR/USD ปกติจะมี Spread ต่ำสุด แล้วแต่ว่าแต่ละโบรกเกอร์จะกำหนดเท่าไหร่ครับ บางโบรกเกอร์ก็ 3 pips สำหรับตัวอื่นค่า Spread ส่วนมากก็จะมากกว่านี้ครับ เช่น GBP/USD 4 pips หรือตัวที่วิ่งเยอะๆ เช่น GBP/JPY ถึง 8 pips เปิดมา -8 ทันทีเลยครับ ^_^

คำถาม: Leverage (ที่เห็น 1:100, 1:200) คืออะไร?

คำตอบ: Lever แปลว่า คาน Leverage แปลตรงตัว = กำลังคาน ครับ
สำหรับ ใน Forex ค่า Leverage เป็นตัวช่วยเวลาเราลงทุนครับ เป็นการให้ Margin เราเพิ่มตอนเทรด ยกตัวอย่าง ถ้าเราจะเทรด 100 หน่วยของ USD/JPY เราต้องใช้เงินถึง $100 ดอลลาร์ (Leverage 1:1) ถ้าโบรกเกอร์ให้ Leverage เรา 1:100 ก็คือ เราใช้เงินลงทุนเพียง $100/100=$1 หรือใช้เงินเพียง 1 ดอลลาร์เท่านั้น
แล้วมีผลยังไง? 1:100 เราลงทุน 1$ เหมือนลงทุนไป 100$ ทำให้เราได้กำไร (หรือขาดทุน) เพิ่มขึ้นด้วยเงินเพียงนิดเดียว ถ้า Leverage มากขึ้น ก็ยิ่ง กำไรขาดทุนมากขึ้นไปอีกครับ ที่เงินลงทุนเท่ากัน ยิ่ง Leverage เยอะเวลา - ยิ่งขาดทุนเยอะนะครับ ต้องระวังไว้ด้วย

ในโบรกเกอร์ จะมีการกำหนด Leverage ที่ต่างกันแล้วแต่ทางโบรกเกอร์เค้าครับ 1:100, 1:200 หรือ บางโบรกเกอร์ 1:500 ก็มี สำหรับ Marketiva จะมีค่า 1:100 ครับ ถ้าเราซื้อ EUR/USD $1 ถ้าราคาขึ้นไป 10 จุดแล้วขาย เราก็จะได้กำไร $0.1 ถ้าไม่มีค่า Leverage หรือเป็น 1:1 เราจะได้กำไรเพียง $0.001 เท่านั้น