Bollinger Bands - BB

Bollinger Bands - BB มีลักษณะคล้ายกับ Envelopes ความแตกต่างระหว่างดัชนีทั้งสอง: ขอบเขตของ envelopes อยู่เหนือและใต้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ซึ่งกำหนดไว้คงที่เป็นระยะห่างในอัตรา percentage แต่ขอบเขตของ Bollinger bands สร้างขึ้นบนพื้นฐานของระยะห่างซึ่งมีค่าเท่ากับปริมาณของการลู่ออกมาตรฐาน (standard divergence) ค่าของ standard divergence ขึ้นอยู่กับความผันผวน ดังนั้น ขอบเขตจึงควบคุมความกว้าง: ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อตลาดไม่คงที่ และลดลงเมื่อตลาดอยู่ในช่วงคงที่
Bollinger Bands มักใช้กับกราฟราคา แต่มันก็สามารถใช้ได้กับ indicator chart ด้วย เช่นเดียวกับกรณีของ envelopes, การตีความหาย Bollinger bands อยู่บนพื้นฐานของความจริงที่ว่าราคามักอยู่ในช่วงขอบบนและขอบล่าง
ลักษณะเฉพาะของ Bollinger Bands คือความกว้างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพความผันผวนของราคา ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคามาก (ความผันผวนสูง) ขอบของดัชนีจะกว้างขึ้นเพื่อให้พื้นที่สำหรับการเคลื่อนไหวของราคา ในช่วงตลาดซบเซา (ความผันผวนต่ำ) ขอบของดัชนีจะลู่เข้าหากัน (converge) ทำให้ราคาเคลื่อนไหวภายในขอบเขตนั้น
ลักษณะเฉพาะของ Bollinger bands:
1. การเปลี่ยนแปลงราคาอย่างรวดเร็วมักเกิดขึ้นหลังจากภาวะซบเซา/หยุดนิ่งของแถบดัชนีซึ่งบ่งบอกถึงความผันผวนที่ลดลง
2. หากราคาอยู่เหนือขอบของแถบดัชนี, แนวโน้มในปัจจุบันจะยังคงดำเนินต่อไป
3. หากหลังจากเกิดจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดนอกแถบดัชนี เกิดจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดในแถบดัชนีตามมา, การกลับตัวของแนวโน้มอาจเกิดขึ้นได้
4. การเคลื่อนไหวของราคาเริ่มจากการที่หนึ่งในขอบดัชนีเคลื่อนตัวถึงแถบที่อยู่ตรงข้าม การสังเกตในครั้งหลังสุดจะเป็นประโยชน์สำหรับการคาดการณ์ราคาเป้าหมาย
การสังเกตในครั้งหลังสุดจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการคาดการณ์ราคาเป้าหมาย